“Quantum Computing คือ” เทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าของการประมวลผลคอมพิวเตอร์
เมื่อหลายสิบปีก่อน มันคงจะดูเป็นเรื่องที่เกินจริงและเพ้อฝันไปมาก หากมีใครซักคนบอกว่า เรากำลังจะนำเอา การประมวลผลในเชิงควอนตัม (Quantum Computing) ที่เป็นคุณสมบัติในการสร้างรูปแบบการประมวลผลในระดับ “อนุภาค” มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของเรา สามารถประมวลผลได้ในระดับเดียวกันกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เพราะมันคงจะมีแต่ในภาพยนตร์ หรือนิยายวิทยาศาสตร์เท่านั้น มันจะเป็นไปได้อย่างไร?
แต่ ณ วันนี้ มันอาจไม่ใช่แค่เรื่องในจินตนาการอีกต่อไป เพราะเทคโนโลยี “การประมวลผลควอนตัม” กลายเป็นเรื่องที่ถูกยกขึ้นมาพูดถึงอย่างจริงจัง ว่ามันมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้!
เคยมีคนกล่าวไว้ว่า ต่อให้คอมพิวเตอร์ที่ไวที่สุดในโลก จะประมวลผลได้เร็วและมีประสิทธิภาพล้ำโลกแค่ไหน แต่คอมพิวเตอร์ ก็ยังคงมีขีดจำกัดเสมอ เพราะไม่ว่าอย่างไร การทำงานของระบบโปรเซสเซอร์ ก็ยังคงต้องการ “เวลา” “พื้นที่” และ “ระยะทาง” ในการประมวลผล ก่อนจะไปถึงผลลัพธ์ที่เราต้องการ แม้แต่โปรเซสเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ที่องค์กรแบบ นาซา หรือ เทสล่า ใช้ มันก็ยังคงมีสามสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่มาคั่นตรงกลางระหว่าง จุดเริ่มต้น ไปสู่ ผลลัพธ์ เสมอ เปรียบเทียบง่าย ๆ เหมือนกับเวลาเราลงโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ เราก็ต้องใช้เวลาเพื่อที่จะ Install มันลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอยู่ดี มันคือ “ขั้นตอน” พื้นฐานของระบบการประมวลผล ที่ไม่สามารถข้ามได้
แต่หากเราสามารถทำให้โปรเซสเซอร์ของคอมพิวเตอร์ ประมวลได้ในเชิงอนุภาค นั่นเท่ากับว่า ระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์ จะไม่ต้องการ เวลา พื้นที่ และระยะทาง มาเป็นขีดจำกัดอีกต่อไป และมันจะส่งผลให้ระยะห่างที่เกิดขึ้นระหว่างการประมวลผล เกิดขึ้นเพียงแค่เสี้ยววินาที จนดูเหมือนมันไม่เกิดขึ้นเลย เหมือนกับต้นไม้ที่สามารถหว่านเมล็ดลงไปแล้วโตเป็นต้นไม้ใหญ่ได้ทันที โดยไม่ต้องเวลา
แต่มันจะเป็นแบบนั้นได้จริงหรือ?
แล้วถ้าจริง ความเป็นไปได้ที่ Quantum Computing คือ จะเกิดขึ้นมันเริ่มจากตรงไหน?
ย้อนกลับไปมองประวัติศาสตร์การพัฒนาของคอมพิวเตอร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่เป็นพัฒนาการอย่างชัดเจนก็คือ ระบบประมวลผล เมื่อยิ่งมีขนาดเล็กลง มันก็จะยิ่งเร็วและทรงประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่ในวันที่มนุษย์ได้สร้างอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำสำหรับใช้ในทางเคมีไฟฟ้า ที่เรียกว่า ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ขึ้นมาได้ นับแต่นั้น ระบบประมวลผลจองคอมพิวเตอร์ก็ยิ่งมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ พร้อมกับความเร็วที่เพิ่มขึ้นมาจากจุดเดิมหลายพันเท่า จนทุกวันนี้ ไมโครโปรเซสเซอร์ที่เร็วที่สุดในโลก มีขนาดเล็กเพียงแค่ไม่ถึงฝ่ามือแล้ว (และมันสามารถอยู่ในบ้านของคุณทุกคนได้จริง ๆ)
ฉะนั้น หากมนุษย์จะผลักดันให้ระบบประมวลผลคอมพิวเตอร์ก้าวล้ำไปยิ่งกว่านี้อีก ก็มีหนทางเดียวเท่านั้น นั่นคือ ไมโครโปรเซสเซอร์ ก็จะต้องเล็กไปกว่านี้อีก และคราวนี้ มันต้องเล็กลงไปในระดับอะตอม!
นักวิทยาศาสตร์ของโลกเรานั้น ทำการทดลองและวิจัย เกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัม และนาโนเทคโนโลยี กันมาตลอดหลายสิบปี เพื่อที่จะใช้ในด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม คมนาคม และแน่นอนรวมไปถึงด้านการผลิตเครื่องจักรและการผลิตชิปประมวลผลด้วย เพราะประโยชน์มหาศาลของเทคโนโลยีที่มีขนาดเพียงระดับอนุภาค นั่นคือขีดจำกัดด้านเวลาและพื้นที่จะหายไป ระบบประมวลผลจะไม่ต้องการเวลาในการให้ระบบไฟฟ้าสื่อประสานถึงกัน แบบไมโครโปรเซสเซอร์ในปัจจุบัน ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์สามารถตัดข้อจำกัดเหล่านั้นออกไปได้ คอมพิวเตอร์ก็จะสามารถประมวลผลได้เร็ว จนมนุษย์อาจจะจินตนาการไม่ถึงเลยทีเดียว
นึกภาพง่าย ๆ ถึงโลกในยุคที่การประมวลผลควอนตัมสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ใช้งานได้จริง ขึ้นมาจริง ๆ มันจะเป็นโลกที่ทุกอย่างเกิดขึ้นได้เร็วในพริบตา เช่น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ จะไม่มีการ “โหลด” อีกต่อไป ทุกอย่างจะสามารถจบได้ในคลิกเดียว
ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial intelligence) ที่เคยมีขีดจำกัดในด้านการประมวลผลแบบโปรเซสเซอร์ ที่ทำให้การออกแบบด้านโปรแกรมซับซ้อน และใช้เวลานาน หากมีการประมวลผลควอนตัม ความซับซ้อนในการออกแบบก็จะลดลง และระดับการประมวลผลในปัญญาประดิษฐ์ก็จะเร็ว จนสามารถสร้างสมองกล ที่มีระดับความคิดเร็วเท่ากับสื่อประสาทในสมองของมนุษย์จริง ๆ และถึงวันนั้น เหล่าหุ่นยนต์แอนดรอยด์ ที่มีความนึกคิดเป็นของตัวเอง แบบในหนังไซไฟ อาจจะเกิดขึ้นจริงได้
ทั้งนี้ทั้งนั้น แนวคิดเรื่อง การประมวลผลควอนตัม ก็ยังคงเป็นเพียงภาพแนวคิด ที่ถูกนำเสนอขึ้นมาพูดในที่ประชุม เท่านั้นครับ เหล่าบริษัทผู้พัฒนาระบบประมวลผลอย่าง Microsoft หรือ Apple ต้องการจะยกเอาแนวคิดเรื่อง Quantum Computing ขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญ ก็เพื่อที่จะผลักดันให้เทคโนโลยีนี้ สามารถเกิดขึ้นได้จริงภายในเร็วๆ นี้ แต่เมื่อมองในภาพรวม ณ ขณะนี้ การประมวลผลควอนตัม ก็ยังมีข้อจำกัดมากมาย ที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้ค้นพบสมการปลดล็อกความเป็นไปได้ที่ถูกต้อง เช่น ชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบเป็นโปรเซสเซอร์ ยังไม่สามารถลดขนาดให้อยู่ในระดับอะตอมได้ทุกอย่าง บางอย่างทำได้แล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายส่วนที่ยังคงทำไม่ได้ และกำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย เพื่อให้มันสามารถทำได้
กับการคิดไปถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หากเทคโนโลยีนี้จะสามารถเกิดขึ้นจริง มันจะเปลี่ยนการใช้ชีวิตของสังคมมนุษย์ไปแบบไหนบ้าง ทั้งในด้านบวกและด้านลบ อย่างเช่น หากปัญญาประดิษฐ์ สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ หลาย ๆ อาชีพ ก็อาจจะถูกทดแทนด้วย AI อย่างถาวร จนมนุษย์อย่างพวกเรานี่แหละ ที่จะตกงานกัน จนอาจกลายเป็นข้อพิพาท หรือความขัดแย้ง แบบใหม่ ที่มนุษย์จะมีต่อการใช้เทคโนโลยี ซึ่งหากคิดในมุมมองนี้ ก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัวทีเดียว
แต่ก็ไม่อยากให้ทุกคนต้องมองโลกในแง่ร้ายไปหมดเสียทีเดียว เพราะ “อนาคต” คือสิ่งที่คนเราต้องเผชิญหน้ากับมันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะแง่ไหน ฉะนั้นแล้ว โปรดจับตาดูการเปลี่ยนแปลงของโลกไว้ให้ดี และเตรียมตัวให้พร้อมที่จะรับมือกับมันไว้ตลอดเวลา เพราะความก้าวล้ำที่มากขึ้นทุกวัน สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ จนบางทีก็เร็วซะจนเราไม่ทันจะได้เตรียมตัวเตรียมใจเลยแม้แต่น้อย
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ติดตามเวปไซส์น่าสนใจ